ชนิดของหญ้า และการดูแลรักษา




หญ้าพาสพาลั่ม

เป็นหญ้าที่มีใบเล็กสั้น มีสีเขียวเข้มกว่าหญ้าชนิดอื่น
สามารถปลูกได้ ในทุกสภาพอากาศ ทุกพื้นที่
มีคุณสมบัติ ทนร้อน ทนแล้งได้ดี ดูแลง่าย
เป็นหญ้าที่ปลูกง่าย หากดูแลรักษารดน้ำอย่างทั่วถึง
เพียง 2-3 วัน หญ้าพาสพาลั่ม จะเขียวสวย สมบูรณ์
แต่หญ้าชนิดนี้มี
ข้อเสียคือ เป็นทีหญ้าเพลี้ย และหนอนชอบ
มันจะกินเฉพาะส่วนของใบหญ้า วิธีสังเกตอาการง่ายๆ
เมื่อหนอน หรือเพลี้ย มากินหญ้า คือ
หญ้าจะเป็นดวงๆสีน้ำตาล เมื่ิสังเกตใกล้ๆ จะเห็นแต่หน่อ แต่ไม่มีใบหญ้า
วิธีการฆ่าเพลี้ย และหนอน คือ ใช้ยาฟูรดาน
หว่านให้ทั่ว แล้วรดน้ำตาม หรือ ใช้น้ำหมักสมุนไพร
รดบนหญ้าเพื่อไล่หนอน เพลี้ย แบบไม่ต้องฆ่าแกงกัน
หลังจากฉีดพ่นยา เป็นเวลา 3-4 วัน ดูว่าไม่มีแมลงมารบกวน
นำปุ๋ยสูตรเสมอ มาหว่าน บางๆ หญ้าพาสพาลั่ม จะกลับมาเขียวสวยเหมือนเดิม



หญ้านวลน้อย


หญ้านวลน้อย เป็นหญ้าพื้นเมืองของไทย เป็นหญ้า ที่นิยมปลูกกันมาก สามารถขึ้นได้ดีในดิน เกือบทุก ชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว หรือดินปนทราย และยัง ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดีได้ง่าย นอกจากนี้ ยังทนต่อร้อนและแห้งแล้ง หรือที่น้ำท่วมขังแฉะ ได้เป็นครั้งคราว จึงนิยมปลูกกันมาก
เป็นหญ้าที่จัดอยู่ในประเภทใกล้เคียงกับหญ้าญี่ปุ่น แต่มีใบกว้างกว่า และการเจริญเติบโตเร็วกว่า ใบไม่แข็งกระด้าง เหมือนหญ้าญี่ปุ่น หญ้าชนิดนี้ ขึ้นง่าย และเจริญเติบโต เป็นแผ่นได้เร็วพอสมควร แต่ช่อดอกค่อนข้างยาว และเห็นได้ชัด ซึ่งจะขอกล่าวถึง ลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ลำต้น จะตั้งและแข็งแรง มีลำต้นใต้ดินมาก ปลูกง่ายแตกกอได้เร็ว มีปล้องสั้น และลำต้นยืดหยุ่นตัวดี
2. ใบ มีขนาดปานกลาง สีเขียวอ่อน ใบจะยืดหยุ่นตัวดีเช่นกันในเวลาที่เหยียบย่ำ แวลาเดินแล้วจะนุ่มเท้า ขึ้นคลุมดินได้แน่นดี ใบนุ่มกว่าหญ้าญี่ปุ่น และไม่ระคายผิวหนัง เมื่อตัดเรียบร้อยแล้วดูกล้ายพรม
3. ช่อดอก ค่อนข้างยาว และดอกมีสีน้ำตาลดำเห็นได้ชัดในเวลาออกดอก
หญ้านวลน้อยหญ้านวลน้อยนี้ ชอบขึ้นในที่กลางแจ้ง แต่ในที่ร่มมีแดดพอเพียงก็สามารถขึ้นได้ ถ้าไม่ตัดหญ้านี้เลยจะสูงประมาณ 6 นิ้ว เป็นหญ้าที่ทนต่อ การเหยียบย่ำ ทนต่อความแห้งแล้งหรือน้ำขังแฉะเป็นครั้งคราว ตลอดจนทนต่ออุณภูมิสูงได้ดี แต่ในฤดูแล้งต้อง หมั่นรดน้ำ อยู่เสมอมิฉะนั้นใบจะเหลืองแต่ไม่ถึงตาย นอกจากนี้ทนต่อดินเค็มได้บ้าง รวมทั้งยังต้านทานต่อโรงแมลงได้ดี
ใช้ทำสนามหญ้าทั่วไป เช่น สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ สวนหย่อมในบริเวณบ้าน โรงแรม สวนอาหาร บริษัทร้านห้างใหญ่ ๆ

หญ้าญี่ปุ่น
เป็นหญ้าที่เจริญเติบโต ได้ดีในเขตร้อน แต่สามารถเจริญเติบโตได้ในเขตหนาว และแห้งแล้ง ซึ่งมีการเจริญ เติบโตดีพอสมควร แต่ปลูกในที่ชื่น หรือที่เฉาะไม่ดีนัก  ในดินเค็มก็พอจะ ปลูกได้แต่ก็ไม่ดีนัก  หญ้าก็ยัง ชอบขึ้นในดินเหนียวด้วย
ลักษณะของหญ้าญี่ปุ่น
ลำต้น เป็นพวกเลื้อยตามดิน และลำต้นจะตั้งแข็งทั้งลำต้นบนดิน และลำต้นใต้ดิน
ใบ ใบสีเขียวเข้ม ใบเล็กละเอียดกลมแข็ง ปลายใบแข็งและแข็งกระด้างเวลาสัมผัสจะระคายผิวหนัง ขอบใบเรียบไม่มีขน
หญ้าญี่ปุ่นนี้ ต้องการน้ำมาก และการเจริญเติบโดช้า ต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปีกว่าจะขึ้นเต็มสนาม ถ้าแห้งแล้งนาน ๆ หรือขาดน้ำใบจะเหลืองทันที
เป็นหญ้าที่ทนต่อการเหยีบย่ำพอสมควร และไม่ค่อยยืดหยุ่นตัวเหมือนหญ้านวลน้อย
เป็นหญ้าที่ต้องการปุ๋ยไม่มากนัก ทนต่ออากาศหนาวได้ดี อาจทนได้ถึงประมาณ 10 - 20 องศาฟาเรนไฮด์ ทนต่อโรคหรือแมลงต่าง ๆ ได้มากกว่าหญ้าชนิดอื่น
หญ้าญี่ปุ่นนี้เจริญเติบโตช้า แต่เมื่อขึ้นแล้วจะหนาแน่นมาก ขึ้นคลุมดินวัชพืชไม่สามารถขึ้นแข่งได้ การแต่งไม่บ่อยนัก เพราะเจริญเติบโตช้า ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ ก็จะเป็นกระจุก การตัดแต่งลำบาก
การตัดแต่ง
หญ้าญี่ปุ่นชนิดนี้จำต้องตัดให้สั้นประมาณ 0.5 - 1.0 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 5 - 10 วัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานวัน หญ้าจะขึ้นเป็นจุก เมื่อตัดหญ้าจะมีสีเหลืองเป็นหย่อม ๆ มองดูแล้วหน้าเกลียด ไม่สวยงาม ซึ่งเป็นข้อเสียของหญ้าชนิดนี้ เนื่องจากหญ้าญี่ปุ่นมีลำต้นและใบแข็งกระด้างมาก ดังนั้นการใช้เครื่องตัดหญ้า ต้องมีกำลังสูง และมีใบมีด ที่คมมาก ใช้กรรไกรดัตไม่กี่วันก็หมดแรง เพราะมันขึ้นเป็นกระจุกทำให้ตัดยาก ลำต้น และใบก็เหนี่ยวด้วย ซึ่งทำให้กินแรงใน การตัดมาก แม้กระทั่งใช้ เครื่องตัดหญ้า ก็ต้องลับมีดบ่อยครั้ง เพื่อให้คมอยู่เสมอ
การขยายพันธุ์
สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และใช้ส่วนต่าง ๆ ปลูก เช่น ลำต้น เหง้า ไหล แต่นิยมกันมากก็ใช้ส่วนต่าง ๆ โดยปลูกแยกต้นปลูก การปลูกเป็นกระจุก และการปูเป็นแผ่น ๆ ส่วนการปลูกด้วยเมล็ดไม่นิยมเพราะการเจริญเติบโตช้ามาก
ข้อดี เป็นหญ้าที่เล็กมองดูแล้วสวยงามดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นสวนหย่อม และพื้นที่ก็ควรไม่กว้างมากนัก และใช้ปลูกในบริเวณ ที่เป็นทางเข้าได้ดี เพราะสามารถป้องกัน และควบคุมไม่ให้บุกรุกบน ทางเท้า ได้ง่ายกว่าหญ้าชนิดอื่น
ข้อจำกัด ใบหญ้าจะแข็งกระด้าง และปลายใบเล็กเรียวแหลม ทิ่มตำระคายผิวหนัง การตัดลำบากและกินแรง

หญ้าเบอมิวด้าร์  เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และยุโรปใต้ ส่วนชื่อ Burmuda Grass มาจากการที่มันเป็นพืชต่างถิ่นรุกรานในเบอร์มิวดา แต่ไม่ได้เกิดขึ้นที่นั่น ในประเทศไทย ชาวเหนือ เรียกว่า "หญ้าเป็ด" ส่วนชาวกะเหรี่ยง เรียกว่า "หน่อเก่เด"
ลำต้น จะค่อนข้างแบน และจะตั้งตรงหรือโค้งจาก ฐานของลำต้น มีทั้งลำต้นใต้ดิน และลำต้นบนดิน ซึ่งแตกแขนงออก มาแล้วมีรากที่ข้อ 
ใบ ค่อนข้างบางใบเรียวแหลม ขอบใบมีขนเล็ก ๆ 
ต้องการแสงแดดเต็มที่ในการเจริญเติบโต จึงจะได้หญ้าที่ดี ถ้าปลูกในที่ร่ม หรือตามชายคาบ้าน ลำต้นจะยาวยืด ใบหญ้าจะบางอ่อนแอ ทนต่การเหยียบย่ำดี หาอาหารเก่ง อาศัยเพียงน้ำค้างก็สามารถเจริญเติบโตได้ และฟื้นตัวเร็ว
การให้ปุ๋ยนั้นไม่จำเป็นมากนัก เพราะสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี ดังนั้นการให้ปุ๋ยในอัตตราต่ำ โดยครั้งหนึ่งทิ้งระยะไปอีก 2 - 3 เดือนก็ได้ มีความทนต่อโรคและแมลงได้ดี
ประโยชน์
ในสภาพแวดล้อมและการดูแลที่เหมาะสม เป็นหญ้าที่มีความสม่ำเสมอ คุณภาพดีพอใช้จึงจะได้หญ้าที่สีเขียวสด ใช้ปลูกเป็นสนามหญ้า ทั่ว ๆ ไป เช่น สนามฟุตบอล รักบี้ ในสวนสาธารณะ ปลูกตามขอบถนน สนามเด็กเล่น ปลูกเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกในพื้นที่ ที่กว้าง ๆ เพียงเพื่อต้องการปลูกปกคลุมดินป้องกันไม่ให้เกิดการพังทะลายของดินได้
หญ้านี้มีความต้องการดูแลในระดับที่ปานกลางถึงระดับสูง จึงจะได้คุณภาพดี ถึงแม้จะทนต่อความแห้งแล้งและความร้อนได้สูงก็ตาม แต่หญ้านี้จะคุณภาพไม่ดี ถ้าไม่ได้ให้น้ำอย่างเพียงพอ การใช้หญ้าแพรกทำสนามหญ้าต้องระมัดระวังอย่างหนึ่งคือ หญ้านี้จะกลายเป็นวัชพืชที่สำคัญได้ เนื่องจากการเจริญเติบโตเร็ว ทั้งยังมีเมล็ดแพร่พันธุ์ได้อีก และจะเป็นวัชพืชที่เข้าไปในแปลงดอกไม้ ไม้พุ่มเล็ก ๆ แม้กระทั่งตามถนนที่มีรอยแตก หญ้านี้จะแทรกตัวไปขึ้นได้
การตัดหญ้า
การตัดหญ้าชนิดนี้ จำเป็นต้องตัดบ่อยครั้ง ระยะการตัดที่เหมาะสม 0.75 - 1.5 นิ้ว จากพื้นดิน เพราะหญ้านี้มีความเจริญเติบโต ทางแนวตั้งมาก จึงต้องตัดต่ำพอสมควร และต้องตัด 1 - 2 อาทิตย์ต่อครั้ง เพื่อให้ได้หญ้าที่มีคุณภาพการตัดก็ใช้เครื่องตัดหญ้าทั่ว ๆ ไปได้ แม้กรรไกรก็สามารถใช้ได้ในสนามเล็กไม่กว้างมากนัก
ข้อดี
ใบเล็ก โตเร็ว ทนแล้ง ไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลมากนัก เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่กว้าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะในสนามกีฬาต่าง ๆ ตามริมถนนเพื่อป้องกันการพังทะลายของไหล่ถนน
ข้อจำกัด
เป็นวัชพืชง่าย เพราะมีการเจริญเติบโตเร็ว โดยจะรุกเข้าไปในแปลงหญ้าชนิดอื่น ๆ ที่ปลูกใกล้กัน และรุกเข้าไปในแปลงดอกไม้ เมื่ออกดอกจะทำให้สนามไม่สวยงาม และจะเป็นสนามที่แย่มากถ้าขาดการดูแล
ข้อแนะนำ
เมื่อปลูกหญ้าควรให้น้ำให้ปุ๋ยบ้าง การตัดก็ให้สม่ำเสมอระวังอย่าให้มีช่อดอกเกิดขึ้น ควรตัดก่อนออกดอกจะดี



หญ้ามาเลเชีย
     หน่อจะแบนและมีลำต้นบนดินแตกออกทั้ง ข้างของลำต้น ลำต้นบนดินไม่ยาวนัก รากจะแตกออจากข้อของลำต้นบนดิน ที่เรียกว่า ไหล เมื่อไหลนี้สัมผัสกับดินรากและลำต้นใหม่ก็จะแตกออกจากข้อของไหล แล้วเจริญเติบโตแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
      ใบ ใหญ่กว่าใบหญ้าทุกชนิด ใบมีสีเขียวอ่อน มีรากตื้น ตัวใบแบน ตรงกลางใบจะหักพับคล้ายหลังคาบ้าน ขอบใบมีขน ตั้งแต่ข้อต่อระหว่างตัวใบกับก้านใบจนถึง ยอดของใบในใบแก่จะมีขนเห็นได้ชัดเจนกว่าใบอ่อน และใบอ่อนจะเห็นเป็น คลื่นมากกว่าใบแก่ ขนที่ใบจะอยู่ด้านหน้าใบ ส่วนทางหลังใบจะเป็นมันไม่มีขน เส้นกลางใบทางด้านหลังจะนูนเด่นชัดเจน ยอดใบแหลมมน
      ดอก ช่อดอกเกิดจากปล่องสุดท้ายของลำต้น มี 3 - 5 ช่อ ดอกย่อยเป็นรูปไข่แหลม ยาวประมาณ 2.0 - 2.5 ซม.
ในดินที่มีความ อุดมสมบูรณ์ปานกลางก็สามารถขึ้นได้ดี และสามารถขึ้นได้ดีในสถานที่ที่มีแสงน้อยหรือร่มรำไร เช่น บริเวณชายคาบ้าน และอาคาร หรือใต้ต้นไม้ ที่มีแดดรำไร ไม่ชอบที่น้ำขังแฉะ ถ้าน้ำขังแฉะต้นจะแคระแกร็น ใบจะเหลืองและตายได้ การเจริญเติบโตได้ดี และมีรากแน่น ถ้าปลูกในที่มีแสงน้อย ถ้าปลูกในที่มีแสงแจ้งมีแดดจัด จะทำให้ต้นแคระ ข้อปล้องจะสั้นมีสีแดง ส่วนใบก็จะเล็กลงและมีสีแดงด้วย
หญ้านี้มีความต้องการน้ำมาก ซึ่งก็เนื่องจากมีใบใหญ่ จึงมีการคายน้ำมาก ในฤดูแล้ง ถ้าหากขาดน้ำไใบจะเหลือง และชงักการเจริญ เติบโต และไม่ทนต่อการเหยียบย่ำ
หญ้ามาเลเชียนี้ไม่ต้องการการเอาใจใส่มากนัก และไม่ต้องตัดบ่อย ๆ เหมือนหญ้าอื่น ๆ นิยมใช้เป็นหญ้าคลุมหญ้า คลุมวัชพืชใน สวนยาง สวนผลไม้ทางภาคใต้ เพราะขึ้นได้แน่นดี วัชพืชอื่น ๆ ไม่มีโอกาสขึ้นแซมได้
ประโยชน์
หญ้ามาเลเชียเป็นหญ้าที่ใช้ทำ สนามหญ้า และจัดสวนหย่อม เช่นเดียวกับ หญ้าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในที่ร่มร่ำไร สามารถเจริญ เติบโต ได้ดีในที่มี ความอุดม สมบูรณ์ต่ำ ไม่ทนต่อดินเค็ม หญ้ามาเลเชียที่ใช้ปลูกโดยเมล็ด จะสามารถ ป้องกัน การพังทะลายของดิน ในที่มีความลาดชันสูงได้ดีเช่นกัน ทนต่อดินเป็นกรดที่มี pH ประมาณ 4.5 - 5.5 เป็นหญ้าที่ชอบความชื้นสูง ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด
การตัดหญ้า
ควรตัดในระยะ 1 - 2 นิ้ว โดยตัดทุก ๆ 10 - 15 วัน เครื่องตัดหญ้า สามารถใช้ได้ทุกชนิด รวมทั้งกรรไกร ก็ตัดได้ไม่กินแรง มากนักเหมือนกับหญ้าญี่ปุ่น
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ได้ดีและเร็วในฤดูฝน มีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และการใช้ส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะลำต้นเป็นกระจุก แบบปูเป็นแผ่น การปลูกด้วยเมล็ด จะลงทุนน้อย โดยการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 3 - 4 ปอนด์ ต่อเนื้อที่ 1,000 ตารางฟุต
ข้อดี เป็นหญ้าที่เหมาะสำหรับปลูกในที่ร่มร่ำไร หรือมีแสงน้อยได้ดี ต้องการการดูแลรักษาต่ำ
ข้อจำกัด ถ้าปลูกในดินที่มีสภาพเหมาะสมสามารถเจริญเติบโตได้เร็วมาก ใบและกิ่งก้านจะหนาอวบใหญ่ เมื่อตัดต้นหญ้าแล้ว จะเป็นเสี้ยนดูไม่สวยงาม เมื่อปลูกรวมกับหญ้าชนิดอื่น ก็จะลามเข้าไปทับหญ้าชนิดอื่นตายได้ เป็นหญ้าที่ต้องการน้ำมาก และต้องมีความชื่นสม่ำเสมอ ถ้าปลูกในที่กลางแจ้ง ก็ปลูกได้ แต่ต้องให้น้ำมากกว่าปกติ และใช้เป็นหญ้าที่เหยียบย่ำมากไม่ได้ เพราะเมื่อเหยียบย่ำมาก ๆ ก็ฟื้นตัวช้า










ไม่มีความคิดเห็น: